ในยุคดิจิทัลที่อินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา กิจกรรมหลายอย่างที่เคยเกิดขึ้นได้เฉพาะบนโลกแห่งความเป็นจริงก็เคลื่อนตัวไปเกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ด้วย หนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์และกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ของคนยุคนี้ ก็คือ การกลั่นแกล้งระรานกัน
“การระรานทางไซเบอร์” หรือที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “การ Cyberbully” คือ การกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ผ่านโซเชียลมีเดีย การส่งข้อความ การเล่นเกม และโทรศัพท์มือถือ การ Cyberbully เป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว ยั่วโมโห หรือสร้างความอับอายให้แก่ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ด้วยการจัดสนทนากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 50 คน ในช่วงเดือน ส.ค. 2562 พบว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่
เมื่อการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ผู้ถูกกลั่นแกล้งอาจรู้สึกเหมือนถูกโจมตีอยู่ในทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งในบ้านของพวกเขาเอง ทำให้รู้สึกว่าไม่มีทางหนีจากการกลั่นแกล้งนั้นได้เลย มันจึงสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำได้เป็นระยะเวลานานในหลายทิศทาง ทั้ง...
ความรู้สึกของการถูกคนอื่นหัวเราะเยาะหรือรบกวน อาจส่งผลให้ผู้คนไม่กล้าพูดถึงปัญหาหรือพยายามหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งในรายที่รุนแรงอาจถึงกับฆ่าตัวตายเลยก็ได้
องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากยูนิเซฟ และผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการระรานทางไซเบอร์และเด็กระหว่างประเทศ (International cyberbullying and child protection experts) พร้อมจับมือกับเฟซบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) และทวิตเตอร์ (Twitter) เพื่อสำรวจปัญหาการถูก Cyberbully ของเด็ก ๆ ทั่วโลก และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ พวกเขาพบว่า บ่อยครั้งที่เด็ก ๆ บอกไม่ได้ว่าสิ่งที่เพื่อนทำกับพวกเขาอยู่คือการแกล้งกันเล่น ๆ หรือ การพยายามทำร้ายพวกเขาอยู่กันแน่โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ เพราะพวกเขามักหยอกกันแรง ๆ แล้วหัวเราะพร้อมทิ้งท้ายด้วยประโยคที่ว่า “แค่ล้อเล่นน่า” หรือ “อย่าคิดมากน่า” เอาไว้ เหล่าผู้เชี่ยวชาญจึงให้ข้อสังเกตเอาไว้ว่า หากเมื่อไรเราเริ่มรู้สึกว่าการล้อเล่นนั้นเลยเถิดไปไกลถึงขนาดที่เริ่มทำร้ายจิตใจเราแล้ว นั่นอาจเป็นการ Cyberbully
องค์การ UNICEF พร้อมกับ Facebook, Instagram และ Twitter ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า เมื่อไรก็ตามที่เราถูก Cyberbully “กุญแจสำคัญที่จะหยุดการกลั่นแกล้งนั้นได้ ก็คือการชี้ชัดออกไปว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นคือการกลั่นแกล้งกัน และแจ้งไปยังผู้ใหญ่ที่ไว้ใจหรือผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งรายงาน (report) ไปยังแพลมฟอร์มโซเชียลมีเดียให้หยุดการกระทำดังกล่าว” กล่าวคือ สำหรับใครก็ตามที่กำลังตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ สิ่งแรกที่ควรทำคือการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่ไว้ใจ เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในครอบครัวที่สนิท หรือครูที่โรงเรียน แต่หากไม่สะดวกใจที่จะบอกกับคนที่รู้จักก็ควรติดต่อไปยังหน่วยงานมืออาชีพที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ และหากการกลั่นแกล้งนี้เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ก็ยังสามารถพิจารณาการบล็อก (block) และรายงาน (report) ผู้กลั่นแกล้งเพื่อให้บริษัทโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการใช้กฏเพื่อป้องกันการคุกคามบนแพลตฟอร์ม (platform) เหล่านั้นให้ได้
ในทำนองเดียวกัน สสส. ก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับมือการ Cyberbully ไว้ด้วยหลักการดังนี้
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าผู้ถูกรังแกเท่านั้นที่ต้องรับมือกับการระรานทางไซเบอร์ตามลำพัง พ่อแม่ ครู และผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียก็ยังมีบทบาทในการช่วยป้องกันหรือรับมือกับการรังแกทางไซเบอร์ร่วมกับพวกเขาด้วย ดังนี้
บทบาทของพ่อแม่
บทบาทของครู
บทบาทของผู้ให้บริการ
แม้การ Cyberbully จะสามารถสร้างบาดแผลที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายได้ แต่ด้วยกำลังใจที่แข็งแกร่งของตนเอง และความช่วยเหลือของทุกฝ่ายรอบข้าง ผู้ถูกรังแกจะสามารถเอาชนะปัญหา และกอบกู้ความกล้าหาญและความมั่นใจในการใช้ชีวิตกลับมาใหม่ได้เสมอ การบอกออกไปว่าสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่นั้นคือการระรานการระรานทางไซเบอร์ มิได้เป็นเพียงแค่การร้องขอความช่วยเหลือ และความพยายามในการหยุดยั้งการคุกคามนั้นเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการสื่อสารออกไปให้ทุกคนรู้โดยทั่วกันด้วย ว่าไม่มีใครในโลกนี้สมควรถูกคุกคาม และทุกคนล้วนสมควรได้รับการให้เกียรติด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะบนโลกแห่งความเป็นจริง หรือบนโลกไซเบอร์